วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คำพ้องรูป พ้องเสียง

คำพ้องรูป  พ้องเสียง

คำพ้องรูป 

     คือ คำที่มีรูปเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน ความหมายก็แตกต่างกันด้วย เช่น
อย่าหวงแหนจอกแหนให้แก่เรา  พอลมเพลาก็เพลาลงสายัณห์
คำพ้องรูปมีอยู่ ๒ คู่ ได้แก่
๑. หวงแหน ออกเสียงว่า หวง - แหน มีความหมายว่า กันไว้สำหรับตัว
    จอกแหน  ออกเสียงว่า จอก - แหฺน มีความหมายว่า ชื่อพืชที่ลอยอยู่ในน้ำ
๒. ลมเพลา  ออกเสียงว่า เพฺลา มีความหมายว่า เบาลง เบาพอประมาณ
    เพลา      ออกเสียงว่า เพ - ลา มีความหมายว่า เวลา
การออกเสียงและความหมายของคำพ้องรูปจะต้องดูบริบทประกอบ
คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน เช่น
คำที่ออกเสียงว่า กาน ในภาษาไทยมีหลายคำ ดังนี้
การ - งาน, กาน - ตัดให้เตียน, กาฬ - ดำ, กาล - เวลา, การณ์ - เหตุ, กานต์ - ที่รัก, กานท์ - บทร้อยกรอง, กาญจน์ - ทอง
คำที่ออกเสียงว่า จัน ในภาษาไทยมีหลายคำดังนี้
จัน - ชื่อต้นไม้, จันทร์ - ดวงจันทร์, จันทน์ - ไม้เนื้อหอม, จรรย์ - ความประพฤติ

คำพ้องเสียง

ออกเสียงเหมือนกัน  แต่เขียนไม่เหมือนกัน
๑.  กาน(ตัดให้เตียน)  กาฬ (ดำ)  กาล (เวลา)  การ (งาน)  การณ์ (เหตุ)  กานต์ (เป็นที่รัก)  กานท์ (บทกลอน)
๒.  สัน (ส่วนหนาของมีด,ขวาน)  สรร (เลือก,คัด)  สรรพ์ (ทั้งหมด)  สันต์ (สงบ)  สันทน์ (พูดจา)  ศัลย์ (ลูกศร)  สัณฑ์ (ที่รก ทึบ)  สัณห์ (สุภาพ)
๓.  ฆ่า (ทำให้สิ้นไป)  ค่า (ราคา)  ข้า (ฉัน)
๔.  จัน (ดอกจัน)  จันทร์ (พระจันทร์)  จันทน์ (ไม้จันทน์)  จัณฑ์ (สุรา)  จรรย์ (ความประพฤติ)
๕.  ทาร (เมีย)  ทาน (บริจาค)  ธาร (ลำธาร)
๖.  กัน (ร่วมกันกระทำ)  กรรณ (หู)  กัณฑ์ (หมวด เรื่อง)  กัลย์ (งาม)  กัลป์ (ระยะหนึ่งในช่วงเวลาที่ยาวนาน) 
๗.  ขัน (ภาชนะใช้ตักน้ำ)  ขัณฑ์ (เขต)  ขันธ์ (กอง)  ขรรค์ (ดาบ)
๘.  ทัน (เสร็จตามที่กำหนด)  ทัณฑ์ (โทษ)  ทันต์ (ฟัน)
๑๐.  พัด (เครื่องใช้ทำให้เกิดลม)  พัฒน์ (เจริญ)  พัทธ์ (ผูกติด)  พัสตร์ (ผ้า)  ภัตต์ (อาหาร)  ภัสม์ (ฝุ่น)  พัชร์ (แก้ว)
๑๑.  สาด (สาดน้ำ)  สาต (ยินดี)  สารท (เทศกาลทำบุญเดือนสิบ)  ศาสน์ (คำสั่งสอน)  ศาสตร์ (วิชา)
๑๒.  สิน (ตัด)  สิญจน์ (สายสิญจน์)  ศิลป์ (ฝีมือ)
๑๓. พัน (ผูก)  พันธ์ (สัมพันธ์)  พันธุ์ (เผ่าพันธุ์)  พรรค์ (พวก)  พรรณ (สี ) ภัณฑ์ (สิ่งของ)
๑๔.  บาด (ทำให้เกิดแผล)  บาต (ตก)  บาท (เท้า)  บาศ (บ่วง)  บาศก์ (ปริมาตร)
๑๕.  มาด (คาดหวัง)  มาตร (เครื่องวัด)  มาส (เดือน)  มาศ (ทอง)
๑๖.  รัด (โอบรอบ)  รัต (ยินดี  สีแดง)  รัฐ  (บ้านเมือง)  รัช (ฝุ่น ธุลี)  รัชต์ (เงิน)  รัตน์ (แก้ว)  รัถ (รถ)  รัถย์ (ทางเดิน)  รัศมิ์ (แสงสว่าง)  รัส (สั้น)
๑๗.  ราด (เทของเหลว)  ราช (พระเจ้าแผ่นดิน)  ราต (ให้มาแล้ว)  ราตร (กลางคืน)  ราชย์ (ความเป็นพระราชา)  ราษฎร์ (พลเมืองของประเทศ)
๑๘.  สัด (เครื่องตวง)  สัต (เจ็ด)  สัตว์ (สัตว์ที่ไม่ใช่คน)  สัตถ์ (คัมภีร์)  สัตย์, สัจ (ความจริง)  สัชฌ์ (เงิน)
๑๙.  บาน (ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ)  บาล (รักษา)
๒๐.  ปัน (แบ่งให้)  ปัญจ์ (ห้า)  ปัญญ์ (ความรอบรู้ )  ปัณณ์ (หนังสือ)  ปัณหิ์ (ส้นเท้า)
๒๑.  พาณ (ลูกปืน)  พาน (ภาชนะใส่ของ)  พาล (ชั่วร้าย)  พาฬ (สัตว์ร้าย)
๒๒.  พาด (พิง)  พาต (ลม)  พาท (ถ้อยคำ)  พาทย์ (เครื่องประโคม)  พาธ (ความทุกข์)  พาส (อยู่)  พาสน์ (เครื่องนุ่งห่ม)  ภาษ (บอก)  ภาษณ์ (การพูด)ภาส (แสงสว่าง)
๒๓.  เพท (มนต์คาถา)  เพศ (ลักษณะที่บอกให้รู้ว่าเป็นชายหรือหญิง)  เพส (ยี่สิบ)  เภท (ทำลาย)
๒๔.  รุด (รีบไป)  รุจ (สว่าง)  รุจน์ (พอใจ)  รุต (เสียงสัตว์)  รุทธ์ (กัดกั้น)  รุทร (น่ากลัวมาก  (รุษฏ์ (แค้นเคือง)
๒๕. โรจน์ (สว่าง)  โรท (ร้องไห้)  โรธ (ขัดขวาง)  โรษ (แค้นเคือง)
๒๖.  อิฐ (ดินเผาใช้ก่อสร้าง)  อิด (อ่อนใจ)  อิศร (เป็นใหญ่)  อิษฎ์ (การบูชา)
๒๗.  พุด (ชื่อไม้ดอก)  พุทธ (พระพุทธเจ้า)  พุฒ (เจริญ)  พุธ (วันที่สี่ของสัปดาห์)  ภุช (กิน)  ภุต (กินแล้ว)  ภุส (ข้าวลีบ)
๒๘.  ควณ (คำนวณ)  ควน (เนิน)  ควร (ถูกต้อง)
๒๙.  ศักดิ์ (กำลัง,ฐานะ)  ศักย์ (แรงเคลื่อนไฟฟ้า)  สัก (ไม้ชนิดหนึ่ง,ที่มแทงด้วยของแหลม)  สัค (สวรรค์)
๓๐.  ศูทร (วรรณะที่สี่ในอินเดีย)  สูด (หายใจเข้า)  สูต (สารถี)  สูตร (กฎ)  สูติ (การเกิด)  สูท (คนครัว)
๓๑. จุณ (ผง)  จุน (ค้ำ ยันไว้)  จุล (เล็ก น้อย)
๓๒.  โจทก์ (ผู้กล่าวหา)  โจทย์ (ปัญหาเลข)  โจษ (เล่าลือ)
๓๓.  ทัณฑ์ (โทษจากความผิด)  ทันต์ (ฟัน)  ทัน (เท่า เทียม )  ธรรม์ (คุณงามความดี)  ธัญ (ข้าวเปลือก)
๓๔.  วัด (สถานที่ทางศาสนา)  วัฒน์ (ความเจริญงอกงาม)  วัตร (กิจพึงกระทำ)  วัสตร์ (ผ้า)  วัสน์ (ที่อยู่) วรรษ (น้ำฝน)
๓๕.  ดาน (แข็ง)  ดาร (เสียงดัง)  ดาล (เกิดขึ้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น