วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย


ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย
1.คำนาม
  คือ คำที่เราใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ รวมทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต เช่น ทหาร นักเรียน นักเรียน โรงเรียน กระเป๋า ลิง เป็นต้น
หน้าที่ของคำนาม
- ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
 เช่น   ประกอบชอบอ่า นหนังสือ
          ตำรวจจับผู้ร้าย
- ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
 เช่น   วารีอ่านจดหมาย

          พ่อตีสุนั

2.คำสรรพนาม

     คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ในประโยคสื่อสารใช้คำนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ
ชนิดของคำสรรพนาม
- ใช้แทนผู้พูด เช่น ฉัน ข้าพเจ้า ผม
- ใช้แทนผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน
- ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น เขา ท่าน
หน้าที่ของคำสรรพนาม
- เป็นประธานของประโยค
  เช่น   เขาไปโรงเรียน
- บ้านเป็นกรรมของประโยค
  เช่น   ครูจะตีเธอถ้าเธอไม่ทำการ
3.คำกริยา
     
     คือ คำที่แสดงอาการ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนามในประโยค
หน้าที่ของคำกริยา
- ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค
  เช่น   ขนมวางอยู่บนต๊ะ
           นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน
           คุณแม่ทำอาหาร
           ฉันเดินไปโรงเรียน

4.คำวิเศษณ์

     คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง ให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของคำวิเศษณ์
- ทำหน้าที่ขยายคำนาม
  เช่น  คนอ้วนกินจุ
         อ้วน เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำนาม คน
- ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม
  เช่น  เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย
          ทั้งหมด เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำสรรพนาม เรา
- ทำหน้าที่ขายคำกริยา
  เช่น   คนแก่เดินช้า 
          ช้า เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำกริยา เดิน
5.คำบุพบท
     คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย เป็นต้น
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน

6.คำสันธาน

     คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย
หน้าที่ของคำสันธาน
- เชื่อมคำกับคำ เช่น ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
- เชื่อมข้อความกับข้อความ เช่น การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
- เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
- เชื่อมความให้สละสลวย เช่น คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
- เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ , และ , ทั้ง…และ ,ทั้ง…ก็ , ครั้น…จึง , พอ…ก็ ฯลฯ
  เช่น  ภราดรและแทมมี่เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ
- เชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง , ครั้น…จึง , พอ…ก็ ฯลฯ
  เช่น  พอเขากล่าวปาฐกถาทุกคนก็ตั้งใจฟัง
- เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ , ถึง…ก็ , กว่า…ก็ , แต่ทว่า , แม้…ก็ ฯลฯ
  เช่น  สังคมมุ่งพัฒนาด้านวัตถุแต่ด้านจิตใจขาดการสนใจ
- เชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ , หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , มิฉะนั้นก็ , ไม่…ก็ ฯลฯ
  เช่น  โรงเรียนในเมืองหรือในชนบทต้องการอาจารย์ผู้มีความรู้

7.คำอุทาน
      
     คือ คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- คำอุทานบอกอาการคือ เช่น แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว   ได้แก่  แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
- คำอุทานเสริมบท แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือหนังหา
หน้าที่ของคำอุทาน
- ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
  เช่น    ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา
- ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
  เช่น    ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น