วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นิราศภูเขาทอง


นิราศภูเขาทอง




     นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ

ลักษณะคำประพันธ์

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับโคลงสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับ  จบด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วย คำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้...
การเดินทางในนิราศ
สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดบะโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ

คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์

     คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
     สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
     สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
     การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิด เสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
     การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
     ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
     ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น

นิราศภูเขาทอง

๏ ครั้นรุ่งเช้าเข้าเป็นวันอุโบสถ เจริญรสธรรมาบูชาฉลอง

ไปเจดีย์ที่ชื่อภูเขาทอง ดูสูงล่องลอยฟ้านภาลัย

อยู่กลางทุ่งรุ่งโรจน์สันโดษเด่น เป็นที่เล่นนาวาคงคาใส

ที่พื้นลานฐานบัทม์ถัดบันได คงคงลัยล้อมรอบเป็นขอบคัน

มีเจดีย์วิหารเป็นลานวัด ในจังหวัดวงแขวงกำแพงกั้น

ที่องค์ก่อย่อเหลี่ยมสลับกัน เป็นสามชั้นเชิงชานตระหง่านงาม

บันไดมีสี่ด้านสำราญรื่น ต่างชมชื่นชวนกันขึ้นชั้นสาม

ประทักษิณจินตนาพยายาม ได้เสร็จสามรอบคำนับอภิวันท์

มีห้องถ้ำสำหรับจุดเทียนถวาย ด้วยพระพายพัดเวียนอยู่เหียนหัน

เป็นลมทักขิณาวัฏน่าอัศจรรย์ แต่ทุกวันนี้ชราหนักหนานัก

ทั้งองค์ฐานราญร้าวถึงเก้าแสก เผลอแยกยอดสุดก็หลุดหัก

โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น

กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น

เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้นฯ

คำพ้องรูป พ้องเสียง

คำพ้องรูป  พ้องเสียง

คำพ้องรูป 

     คือ คำที่มีรูปเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน ความหมายก็แตกต่างกันด้วย เช่น
อย่าหวงแหนจอกแหนให้แก่เรา  พอลมเพลาก็เพลาลงสายัณห์
คำพ้องรูปมีอยู่ ๒ คู่ ได้แก่
๑. หวงแหน ออกเสียงว่า หวง - แหน มีความหมายว่า กันไว้สำหรับตัว
    จอกแหน  ออกเสียงว่า จอก - แหฺน มีความหมายว่า ชื่อพืชที่ลอยอยู่ในน้ำ
๒. ลมเพลา  ออกเสียงว่า เพฺลา มีความหมายว่า เบาลง เบาพอประมาณ
    เพลา      ออกเสียงว่า เพ - ลา มีความหมายว่า เวลา
การออกเสียงและความหมายของคำพ้องรูปจะต้องดูบริบทประกอบ
คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน เช่น
คำที่ออกเสียงว่า กาน ในภาษาไทยมีหลายคำ ดังนี้
การ - งาน, กาน - ตัดให้เตียน, กาฬ - ดำ, กาล - เวลา, การณ์ - เหตุ, กานต์ - ที่รัก, กานท์ - บทร้อยกรอง, กาญจน์ - ทอง
คำที่ออกเสียงว่า จัน ในภาษาไทยมีหลายคำดังนี้
จัน - ชื่อต้นไม้, จันทร์ - ดวงจันทร์, จันทน์ - ไม้เนื้อหอม, จรรย์ - ความประพฤติ

คำพ้องเสียง

ออกเสียงเหมือนกัน  แต่เขียนไม่เหมือนกัน
๑.  กาน(ตัดให้เตียน)  กาฬ (ดำ)  กาล (เวลา)  การ (งาน)  การณ์ (เหตุ)  กานต์ (เป็นที่รัก)  กานท์ (บทกลอน)
๒.  สัน (ส่วนหนาของมีด,ขวาน)  สรร (เลือก,คัด)  สรรพ์ (ทั้งหมด)  สันต์ (สงบ)  สันทน์ (พูดจา)  ศัลย์ (ลูกศร)  สัณฑ์ (ที่รก ทึบ)  สัณห์ (สุภาพ)
๓.  ฆ่า (ทำให้สิ้นไป)  ค่า (ราคา)  ข้า (ฉัน)
๔.  จัน (ดอกจัน)  จันทร์ (พระจันทร์)  จันทน์ (ไม้จันทน์)  จัณฑ์ (สุรา)  จรรย์ (ความประพฤติ)
๕.  ทาร (เมีย)  ทาน (บริจาค)  ธาร (ลำธาร)
๖.  กัน (ร่วมกันกระทำ)  กรรณ (หู)  กัณฑ์ (หมวด เรื่อง)  กัลย์ (งาม)  กัลป์ (ระยะหนึ่งในช่วงเวลาที่ยาวนาน) 
๗.  ขัน (ภาชนะใช้ตักน้ำ)  ขัณฑ์ (เขต)  ขันธ์ (กอง)  ขรรค์ (ดาบ)
๘.  ทัน (เสร็จตามที่กำหนด)  ทัณฑ์ (โทษ)  ทันต์ (ฟัน)
๑๐.  พัด (เครื่องใช้ทำให้เกิดลม)  พัฒน์ (เจริญ)  พัทธ์ (ผูกติด)  พัสตร์ (ผ้า)  ภัตต์ (อาหาร)  ภัสม์ (ฝุ่น)  พัชร์ (แก้ว)
๑๑.  สาด (สาดน้ำ)  สาต (ยินดี)  สารท (เทศกาลทำบุญเดือนสิบ)  ศาสน์ (คำสั่งสอน)  ศาสตร์ (วิชา)
๑๒.  สิน (ตัด)  สิญจน์ (สายสิญจน์)  ศิลป์ (ฝีมือ)
๑๓. พัน (ผูก)  พันธ์ (สัมพันธ์)  พันธุ์ (เผ่าพันธุ์)  พรรค์ (พวก)  พรรณ (สี ) ภัณฑ์ (สิ่งของ)
๑๔.  บาด (ทำให้เกิดแผล)  บาต (ตก)  บาท (เท้า)  บาศ (บ่วง)  บาศก์ (ปริมาตร)
๑๕.  มาด (คาดหวัง)  มาตร (เครื่องวัด)  มาส (เดือน)  มาศ (ทอง)
๑๖.  รัด (โอบรอบ)  รัต (ยินดี  สีแดง)  รัฐ  (บ้านเมือง)  รัช (ฝุ่น ธุลี)  รัชต์ (เงิน)  รัตน์ (แก้ว)  รัถ (รถ)  รัถย์ (ทางเดิน)  รัศมิ์ (แสงสว่าง)  รัส (สั้น)
๑๗.  ราด (เทของเหลว)  ราช (พระเจ้าแผ่นดิน)  ราต (ให้มาแล้ว)  ราตร (กลางคืน)  ราชย์ (ความเป็นพระราชา)  ราษฎร์ (พลเมืองของประเทศ)
๑๘.  สัด (เครื่องตวง)  สัต (เจ็ด)  สัตว์ (สัตว์ที่ไม่ใช่คน)  สัตถ์ (คัมภีร์)  สัตย์, สัจ (ความจริง)  สัชฌ์ (เงิน)
๑๙.  บาน (ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ)  บาล (รักษา)
๒๐.  ปัน (แบ่งให้)  ปัญจ์ (ห้า)  ปัญญ์ (ความรอบรู้ )  ปัณณ์ (หนังสือ)  ปัณหิ์ (ส้นเท้า)
๒๑.  พาณ (ลูกปืน)  พาน (ภาชนะใส่ของ)  พาล (ชั่วร้าย)  พาฬ (สัตว์ร้าย)
๒๒.  พาด (พิง)  พาต (ลม)  พาท (ถ้อยคำ)  พาทย์ (เครื่องประโคม)  พาธ (ความทุกข์)  พาส (อยู่)  พาสน์ (เครื่องนุ่งห่ม)  ภาษ (บอก)  ภาษณ์ (การพูด)ภาส (แสงสว่าง)
๒๓.  เพท (มนต์คาถา)  เพศ (ลักษณะที่บอกให้รู้ว่าเป็นชายหรือหญิง)  เพส (ยี่สิบ)  เภท (ทำลาย)
๒๔.  รุด (รีบไป)  รุจ (สว่าง)  รุจน์ (พอใจ)  รุต (เสียงสัตว์)  รุทธ์ (กัดกั้น)  รุทร (น่ากลัวมาก  (รุษฏ์ (แค้นเคือง)
๒๕. โรจน์ (สว่าง)  โรท (ร้องไห้)  โรธ (ขัดขวาง)  โรษ (แค้นเคือง)
๒๖.  อิฐ (ดินเผาใช้ก่อสร้าง)  อิด (อ่อนใจ)  อิศร (เป็นใหญ่)  อิษฎ์ (การบูชา)
๒๗.  พุด (ชื่อไม้ดอก)  พุทธ (พระพุทธเจ้า)  พุฒ (เจริญ)  พุธ (วันที่สี่ของสัปดาห์)  ภุช (กิน)  ภุต (กินแล้ว)  ภุส (ข้าวลีบ)
๒๘.  ควณ (คำนวณ)  ควน (เนิน)  ควร (ถูกต้อง)
๒๙.  ศักดิ์ (กำลัง,ฐานะ)  ศักย์ (แรงเคลื่อนไฟฟ้า)  สัก (ไม้ชนิดหนึ่ง,ที่มแทงด้วยของแหลม)  สัค (สวรรค์)
๓๐.  ศูทร (วรรณะที่สี่ในอินเดีย)  สูด (หายใจเข้า)  สูต (สารถี)  สูตร (กฎ)  สูติ (การเกิด)  สูท (คนครัว)
๓๑. จุณ (ผง)  จุน (ค้ำ ยันไว้)  จุล (เล็ก น้อย)
๓๒.  โจทก์ (ผู้กล่าวหา)  โจทย์ (ปัญหาเลข)  โจษ (เล่าลือ)
๓๓.  ทัณฑ์ (โทษจากความผิด)  ทันต์ (ฟัน)  ทัน (เท่า เทียม )  ธรรม์ (คุณงามความดี)  ธัญ (ข้าวเปลือก)
๓๔.  วัด (สถานที่ทางศาสนา)  วัฒน์ (ความเจริญงอกงาม)  วัตร (กิจพึงกระทำ)  วัสตร์ (ผ้า)  วัสน์ (ที่อยู่) วรรษ (น้ำฝน)
๓๕.  ดาน (แข็ง)  ดาร (เสียงดัง)  ดาล (เกิดขึ้น)

คำสุภาพ


          คำสุภาพ เดิมเป็นคำที่คิดขึ้นเพื่อเลี่ยงคำหยาบ คำที่ไม่สมควรใช้กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์.  ปัจจุบันคำสุภาพ หมายถึง คำที่ไม่หยาบคาย เหมาะสมใช้กับบุคคลทั่วไปหรือตามฐานะของบุคคล ตัวอย่างคำสุภาพตามตำราหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร คำที่มีคำว่า อ้าย อี ขี้ เยี่ยว ประสมอยู่ ให้เปลี่ยนเป็นคำสุภาพ เช่น   อีกาเป็นกาหรือนกกา   อีเลิ้งเป็นนางเลิ้ง  มีดอีโต้เป็นมีดโต้ หอยอีรมเป็นหอยนางรม  ขนมขี้หนูเป็นขนมทราย   ขี้กลากเป็นโรคกลาก  ขี้เรื้อนเป็นโรคเรื้อน  ดอกสลิดเป็นดอกขจร ปลาช่อนเป็นปลาหาง ปลาสลิดเป็นปลาใบไม้ ไข่เยี่ยวม้าเป็นไข่สำเภา กล้วยไข่เป็นกล้วยกระหรือกล้วยเปลือกบาง ผักบุ้งเป็นผักทอดยอด

       คำสุภาพเหล่านี้บางคำยังใช้อยู่ เช่น หอยนางรม  ตลาดนางเลิ้ง ดอกขจร. แต่บางคำนิยมใช้ทั้งคำสุภาพและคำเดิม เช่น อีกาหรือนกกา ขนมขี้หนูหรือขนมทราย. บางคำนิยมใช้คำเดิม เช่น ปลาช่อน ปลาสลิด ไข่เยี่ยวม้า กล้วยไข่ ผักบุ้ง

ลักษณะของคำสุภาพ
  • ไม่เป็นคำหยาบ
  • ไม่เป็นคำที่ได้ยินแล้วไม่น่าฟัง ไม่เป็นคำกระด้าง
  • ไม่เป็นคำที่สั้นหรือห้วนไป
  • เป็นคำที่พูดผวนแล้วไม่หยาบ
  • เป็นคำที่ไม่นิยมเปรียบกับของหยาบ
  • เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมน

ตัวอย่าง  เช่น


สามัญ

คำสุภาพ

                               หมู

                               สุกร

หมา
สุนัข
แมว
 วิฬาร์
วัว
โค
ควาย
   กระบือ
ลิง
วานร
ขี้ควาย
มูลกระบือ
ช้างสีดอ
ช้างนรการ
ช้างแม่แปรก
ช้างแม่หนัก
อีเก้ง
นางเก้ง
อีเห็น
นางเห็น

ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย


ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย
1.คำนาม
  คือ คำที่เราใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ รวมทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต เช่น ทหาร นักเรียน นักเรียน โรงเรียน กระเป๋า ลิง เป็นต้น
หน้าที่ของคำนาม
- ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
 เช่น   ประกอบชอบอ่า นหนังสือ
          ตำรวจจับผู้ร้าย
- ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
 เช่น   วารีอ่านจดหมาย

          พ่อตีสุนั

2.คำสรรพนาม

     คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ในประโยคสื่อสารใช้คำนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ
ชนิดของคำสรรพนาม
- ใช้แทนผู้พูด เช่น ฉัน ข้าพเจ้า ผม
- ใช้แทนผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน
- ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น เขา ท่าน
หน้าที่ของคำสรรพนาม
- เป็นประธานของประโยค
  เช่น   เขาไปโรงเรียน
- บ้านเป็นกรรมของประโยค
  เช่น   ครูจะตีเธอถ้าเธอไม่ทำการ
3.คำกริยา
     
     คือ คำที่แสดงอาการ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนามในประโยค
หน้าที่ของคำกริยา
- ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค
  เช่น   ขนมวางอยู่บนต๊ะ
           นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน
           คุณแม่ทำอาหาร
           ฉันเดินไปโรงเรียน

4.คำวิเศษณ์

     คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง ให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของคำวิเศษณ์
- ทำหน้าที่ขยายคำนาม
  เช่น  คนอ้วนกินจุ
         อ้วน เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำนาม คน
- ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม
  เช่น  เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย
          ทั้งหมด เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำสรรพนาม เรา
- ทำหน้าที่ขายคำกริยา
  เช่น   คนแก่เดินช้า 
          ช้า เป็นคำวิเศษณ์ ขยายคำกริยา เดิน
5.คำบุพบท
     คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย เป็นต้น
หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก
- แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน

6.คำสันธาน

     คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย
หน้าที่ของคำสันธาน
- เชื่อมคำกับคำ เช่น ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
- เชื่อมข้อความกับข้อความ เช่น การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
- เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
- เชื่อมความให้สละสลวย เช่น คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
- เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ , และ , ทั้ง…และ ,ทั้ง…ก็ , ครั้น…จึง , พอ…ก็ ฯลฯ
  เช่น  ภราดรและแทมมี่เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ
- เชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง , ครั้น…จึง , พอ…ก็ ฯลฯ
  เช่น  พอเขากล่าวปาฐกถาทุกคนก็ตั้งใจฟัง
- เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ , ถึง…ก็ , กว่า…ก็ , แต่ทว่า , แม้…ก็ ฯลฯ
  เช่น  สังคมมุ่งพัฒนาด้านวัตถุแต่ด้านจิตใจขาดการสนใจ
- เชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ , หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , มิฉะนั้นก็ , ไม่…ก็ ฯลฯ
  เช่น  โรงเรียนในเมืองหรือในชนบทต้องการอาจารย์ผู้มีความรู้

7.คำอุทาน
      
     คือ คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- คำอุทานบอกอาการคือ เช่น แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว   ได้แก่  แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
- คำอุทานเสริมบท แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือหนังหา
หน้าที่ของคำอุทาน
- ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
  เช่น    ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา
- ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
  เช่น    ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

ประวัติส่วนตัว











สวัสดีค่ะ  ดิฉันชื่อ  นางสาวชฎารัตน์  ฝ่ายสิงห์
รหัสนักศึกษา 563410010113
กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสรคาม
คติประจำใจ : อย่ากลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง